人文学部
人文社会科学研究科

研究

"J-Talk: Diggin' Culture #09 忍者学とは、なにか"

8月29日国際交流基金バンコク日本文化センター主催"J-Talk: Diggin' Culture #09 忍者学とは、なにか"が開催され、山田雄司人文学部教授がオンラインで講演しました。当日は920名ほどのタイの皆さんが視聴されました。

web banner without JA logo.jpg

เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ กลับมาอีกครั้งกับ "J-Talk: Diggin' Culture" กิจกรรมเสวนาที่จะนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับวัฒนธรรมและสังคมของประเทศญี่ปุ่น ในครั้งนี้นับเป็นตอนที่ 9 ของซีรีส์ J-Talk ซึ่งเป็นหัวข้อเรื่อง NINJA 101: นินจาศึกษาเบื้องต้น โดยได้รับเกียรติจาก ศ. ดร.ยามาดะ ยูจิ รองประธานศูนย์วิจัยนานาชาติด้านนินจาศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยมิเอะ สถาบันที่มีมหาบัณฑิตด้านนินจาศึกษาคนแรกของโลก มาเป็นผู้บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับนินจาตั้งแต่บทบาทหน้าที่ จิตวิญญาณ ตลอดจนภาพลักษณ์ของนินจาที่ปรากฏให้เห็นในภาพยนตร์หรือแอนิเมชันที่หลายคนคุ้นตาอย่างนารูโตะหรือนินจาฮัตโตริ และตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับสาขาวิชานินจาศึกษาในปัจจุบันว่าศึกษาเกี่ยวกับอะไร นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจากรศ. ดร.ชมนาด ศีติสาร ผู้เชี่ยวชาญด้านคติชนวิทยาของญี่ปุ่น และหัวหน้าภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาเป็นผู้แปลความและเสนอข้อคิดเห็น

เกี่ยวกับผู้บรรยาย ศ. ดร.ยามาดะ ยูจิ
อ.ยามาดะเกิดเมื่อปี 1967 ที่จังหวัดชิสุโอกะ สำเร็จการศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิตจากสาขาวิชาประวัติศาสตร์และมานุษยวิทยา จากมหาวิทยาลัยท์ซุกุบะ มีผลงานตีพิมพ์ เช่น ประวัติศาสตร์นินจา (Kadokawa 2016) จิตวิญญาณของนินจา (Kadokawa 2019) เป็นต้น ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำที่คณะมนุษยศาสตร์ ม.มิเอะ สาขาที่เชี่ยวชาญคือประวัติศาสตร์ศาสนาช่วงยุคกลางของญี่ปุ่นและประวัติศาสตร์ศาสนาและ

เกี่ยวกับผู้แปล รศ. ดร.ชมนาด ศีติสาร
อ.ชมนาดสำเร็จการศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิตจากสาขาวิชาประวัติศาสตร์และมานุษยวิทยา จากมหาวิทยาลัยท์ซุกุบะ มีผลงานวิชาการตีพิมพ์ เช่น เรื่องสั้น 'ธรณีเทพกับหมาจิ้งจอก' และ 'สารวัตรนักเบื่อปลา' (แปล) ในหนังสือเรื่องสั้นญี่ปุ่น ๖ (อักษร-จุฬา 2543) คติชนวิทยาญี่ปุ่น (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2561) เป็นต้น ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำที่สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่นและหัวหน้าภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาที่เชี่ยวชาญคือคติชนวิทยาของญี่ปุ่น

Page top